สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม

Posted by: | Posted on: September 1, 2017

23 – 25 มิถุนายน 2560 : นางสาวหรรษา วงศ์ธรรมกูล เลขานุการคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นำบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการเข้าร่วมโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม” ณ โรงแรมระยองรีสอร์ท จังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารและพัฒนาทักษะการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และจดบันทึกรายงานการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การติดต่อสื่อสารบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ อาจารย์กฤติพงศ์ เดชส่งจรัส ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้อย่างเต็มรูปแบบ ดังนี้

  1. การเสวนาและแนะนำแนวคิดวิธีแก้ไขจากประเด็นปัญหาต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มงานพบจากการเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม
  2. การบรรยายพร้อมตัวอย่างประกอบ
  3. ฝึกเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และรายงานการประชุม
  4. การแก้ไขปรับปรุงงานเขียน
  5. การตอบข้อซักถาม

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ยังได้รับเอกสาร “การเขียนหนังสือราชการ” และ “การเขียนรายงานการประชุม” จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ล. ฐิติรัตน์ ลดาวัลย์ สำหรับใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานอีกด้วย


โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร”

Posted by: | Posted on: August 23, 2017

6 มิถุนายน 2560 – คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จัดโครงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ภายในคณะฯ หัวข้อ “การใช้นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร” ณ ห้องเกษม ศิริสัมพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร ของคณาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และเพื่อให้เกิดแนวคิดสำหรับการนำไปปรับใช้และการพัฒนาการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบนวัตกรรมที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ถอดบทเรียนการใช้นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร

นวัตกรรมการศึกษา มีความหมายรวมไปถึงวิธีการสร้างสรรค์การสอนรูปแบบสื่อการสอนใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาการเรียนการสอนแบบเดิมซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาวิชา ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่ E-learning หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเท่านั้น

ผู้เข้าร่วมการเสวนา ร่วมแลกเปลี่ยนผ่านการกรณีศึกษา เช่น หากต้องสอนแบบจำลองการสื่อสาร S – M – C – R สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากกว่าท่องจำ ผู้เข้าร่วมการเสวนาแลกเปลี่ยนว่าสามารถทำได้หลายรูปแบบ เพิ่มเติมจากการบรรยาย ซึ่งผู้เรียนอาจจะมีประสบการณ์ร่วมกับผู้สอนได้น้อย เช่น เสริมการใช้วิดีโอเพื่อให้เห็นตัวอย่าง หรือสร้างความเข้าใจผ่านการเรียนรู้โดยการจำลองสถานการณ์หรือบทบาทสมมติ (Role play) ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ ไม่จำกัดแค่การใช้เทคโนโลยีเท่านั้น นวัตกรรมมีความหมายครอบคลุมไปถึงการสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อไปให้ถึงวัตถุประสงค์ในรูปแบบใหม่ๆที่สามารถแก้ไขปัญหาเดิมได้ โดยนวัตกรรมจะสมบูรณ์เมื่อมีการทดลอง ทำซ้ำ และเกิดแบบแผนที่จะนำไปใช้ต่อ

หัวใจอีกประการหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนยังควรทำความรู้จักกับผู้เรียนให้ลึกซึ้งไม่เพียงแต่รู้จักว่าผู้เรียนคือใคร หรือเป็นนักศึกษาชั้นปีใดเท่านั้น แต่ต้องพยายามทำความรู้จักต้นทุนของผู้เรียนทั้งก่อนเรียน พฤติกรรมการใช้สื่อ ความสนใจ รวมถึงทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาวิชาและผู้สอน ซึ่งการรู้จักผู้เรียนมีความจำเป็นกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การรู้จักผู้เรียนจะทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะกับศักยภาพกับผู้เรียนได้  กระบวนการทำให้ผู้เรียนเปิดใจ เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญ นอกจากนี้ในระหว่างการเรียนการสอนผู้สอนควรมีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน ทักษะและระดับการเรียนรู้ เพื่อปรับรูปแบบการเรียนการสอน การมอบหมายงาน และการประเมินงานให้มีความเหมาะสม [Read More …]


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการสอนในลักษณะ Active Learning

Posted by: | Posted on: August 30, 2016

คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะวารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จัดโครงการเสวนา หัวข้อ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการสอนในลักษณะ Active Learning” ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมเกษม ศิริสัมพันธ์ ชั้น 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการ เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ สำหรับการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้นำความรู้ เทคนิค และวิธีการสอนในลักษณะ Active Learning ไปปรับใช้ในรายวิชาที่รับผิดชอบได้ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลนารี เสือโรจน์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ ในการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้


การนำเทคนิคการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในการเรียนการสอน

Posted by: | Posted on: August 21, 2015

คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคลากรสายวิชการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หัวข้อ “การนำเทคนิคการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในการเรียนการสอน”  เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุมเกษม ศิริสัมพันธ์ ชั้น 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำแนวคิด หลักการ เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แลกเปลี่ยนเทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  ที่ปรับใช้ในการเรียนการสอน  โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์กุลนารี  เสือโรจน์ หัวหน้ากลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นวิทยากรให้ความรู้


โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคลากรสายวิชาการ หัวข้อ “การนำเทคนิคการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในการเรียนการสอน”

Posted by: | Posted on: August 21, 2015

คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคลากรสายวิชการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หัวข้อ “การนำเทคนิคการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในการเรียนการสอน”  ในวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุมเกษม ศิริสัมพันธ์ ชั้น 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ศูนย์รังสิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำแนวคิด หลักการ เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์แลกเปลี่ยนเทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  ที่ปรับใช้ในการเรียนการสอน  โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์กุลนารี  เสือโรจน์ หัวหน้ากลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้

Download-Button : ACTIVE LEARNING (PBL/CBL) โดย อาจารย์กุลนารี เสือโรจน์


  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube